วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เมนูที่ทำได้ง่ายๆที่บ้าน

ทอดมันข้าวโพดกุ้งสับ

ส่วนผสม ทอดมันข้าวโพด

         • ข้าวโพดหวานต้มหั่นเป็นเม็ด 1 ถ้วย
         • แป้งสาลีอเนกประสงค์ 1 ถ้วย
         • ไข่ไก่ 1 ฟอง
         • กุ้งสับ 1/2 ถ้วย
         • พริกไทย 1 ช้อนชา
         • กระเทียมสับ 3 ช้อนโต๊ะ
         • รากผักชีสับ 3 ช้อนโต๊ะ
         • น้ำมันหอย 3 ช้อนโต๊ะ
         • ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
         • น้ำมันสำหรับทอด

          หมายเหตุ : จะได้ส่วนผสมที่เหลวนิดหน่อย เวลาทอดจะฟูกรอบดีค่ะ หากใครชอบเหนียว ๆ ให้ใส่แป้งเพิ่มได้ค่ะ
23 สูตรอาหารสุดง่าย อร่อยได้แบบไม่น่าเชื่อ

วิธีทำข้าวโพดทอด

          1. นำส่วนผสมทั้งหมดนวดคลุกเคล้าให้เข้ากัน 
          2. นำไปทอดในน้ำมันร้อน ใช้ไฟปานกลางจนสุกเหลืองน่ารับประทาน
          3. เสิร์ฟคู่กับซอสมะเขือเทศหรือน้ำจิ้มบ๊วยเจี่ย

วันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2561

สาเหตุการอาการจาม

จาม เป็นอาการที่ร่างกายใช้ขจัดหรือขับสิ่งแปลกปลอมที่ทำให้เกิดการระคายเคืองออกทางจมูกและปากอย่างแรงและรวดเร็ว ในขณะที่จามจะเกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหน้าอกและกะบังลมอย่างฉับพลันไม่ทันตั้งตัว โดยมักมีสาเหตุจากเยื่อเมือกในจมูกเกิดการระคายเคือง
จาม

อาการจามมักทำให้เกิดความรำคาญและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันบ้าง แต่มักไม่ได้เกิดขึ้นจากปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงเสมอไป
อาการจาม 
อาการจามจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและไม่สามารถควบคุมการกระจายลมหายใจที่ขับออกทางจมูกหรือทางปากได้ และอาจมีอาการอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้จามเกิดขึ้นร่วมด้วยดังต่อไปนี้
  • น้ำมูกไหล หรือคัดจมูก
  • ตาแฉะ แสบตา หรือคันตา
  • ไอ
  • เจ็บคอ
หากพบว่าอาการจามเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จามร่วมกับมีไข้ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และรักษาอาการด้วยตนเองแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือหายไป ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา
สาเหตุของอาการจาม
อาการจามเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับจมูก โดยจมูกมีหน้าที่กรองอากาศที่หายใจเข้าไปให้ปราศจากสิ่งสกปรกและเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งส่วนใหญ่สิ่งสกปรกและแบคทีเรียจะถูกดักจับไว้ในน้ำมูกและถูกย่อยโดยกรดในกระเพาะ แต่ในบางครั้งสิ่งสกปรกก็สามารถผ่านเข้าไปภายในจมูกและทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณเยื่อเมือกในจมูกและคอจนทำให้เกิดอาการจาม
โดยปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการจาม ได้แก่
  • สิ่งกระตุ้นจากสภาพแวดล้อม เช่น ฝุ่น ควัน มลภาวะทางอากาศต่าง ๆ สภาพอากาศแห้งหรือเย็น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ละอองเกสรดอกไม้ เชื้อรา สะเก็ดผิวหนังของสัตว์ และการรับประทานอาหารรสเผ็ด
  • โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยจามอย่างต่อเนื่องและจามบ่อย
  • เป็นหวัดหรือไข้หวัดจากการติดเชื้อไวรัส
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาพ่นจมูกคอร์ติโคสเตียรอยด์
  • จามจากการเกิดปฏิกิริยาหลังสัมผัสกับแสงสว่างจ้า (Photic Sneeze Reflex)
  • เกิดการบาดเจ็บที่จมูก
  • การถอนยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มโอปิออยด์
การวินิจฉัยอาการจาม 
การวินิจฉัยอาการจามขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลตามระยะเวลาและความรุนแรงของอาการ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพราะโดยปกติแพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้จากการสอบถามประวัติทางการแพทย์ ลักษณะอาการจาม และอาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นร่วมด้วย จากนั้นจึงตรวจจมูกและคอของผู้ป่วย หรือในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ อาจต้องทำการทดสอบภูมิแพ้ด้วย เพื่อหาสาเหตุและหาสารก่อภูมิแพ้ของผู้ป่วยรายนั้น 
การรักษาอาการจาม
การรักษาอาการจามขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ หากอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ที่บ้าน แต่หากจามจากโรคและการเจ็บป่วยควรได้รับการรักษาจากแพทย์
การดูแลรักษาอาการด้วยตนเอง 
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้หรือสิ่งกระตุ้นที่อาจทำให้จาม ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการจามที่มีสาเหตุมาจากโรคภูมิแพ้ได้ เพราะโรคภูมิแพ้เกิดจากร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไป นอกจากนั้น อาจเปลี่ยนแปลงบางสิ่งภายในที่อยู่อาศัย เพื่อลดความเสี่ยงเกิดการระคายเคือง หรือลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับสิ่งที่กระตุ้นให้มีอาการจาม เช่น
  • หมั่นทำความสะอาดบ้าน ปัดกวาดกำจัดฝุ่น ซักผ้าปูที่นอนและปลอกหมอนด้วยน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 60 องศาเซลเซียส เพื่อฆ่าไรฝุ่น
  • ไม่เลี้ยงสัตว์ไว้ในบ้าน เพื่อป้องกันเศษผิวหนังของสัตว์ปลิวเข้าจมูก และหมั่นตัดขนสััตว์เลี้ยง
  • ซื้อเครื่องกรองอากาศไว้ในบ้าน เพื่อให้อากาศภายในบ้านสะอาดและช่วยกรองละอองเกสรดอกไม้ได้ด้วย
  • หากบ้านมีปัญหาของสปอร์เชื้อรา ควรได้รับการตรวจสอบ ในกรณีที่ร้ายแรง อาจจำเป็นต้องย้ายออกไปจากบ้านหลังนั้น เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพตามมา
ส่วนอาการจามที่ไม้ได้เกิดจากภูมิแพ้ มักหายไปได้เองเมื่อโรคที่เป็นสาเหตุได้รับการรักษาหรือเมื่อหายป่วย
การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ
หากผู้ป่วยมีอาการจามจากโรคภูมิแพ้ เบื้องต้นแพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ด้วยวิธีต่าง ๆ รวมถึงอาจให้ยาแก้แพ้เพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยาลอราทาดีน และยาเซทิไรซีน
ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้รุนแรง แพทย์อาจแนะนำการรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัดด้วยการฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าใต้ผิวหนังทีละน้อยเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยป้องกันร่างกายไม่ให้เกิดปฏิกิริยากับสารก่อภูมิแพ้ในอนาคต
ส่วนการจามจากการติดเชื้อ เช่น เป็นหวัด หรือไข้หวัด สามารถบรรเทาอาการระคายเคืองที่ทำให้จาม และอาการคัดจมูกน้ำมูกไหลได้ด้วยการใช้ยา ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์และยาที่หาซื้อจากร้านขายยา โดยผู้ป่วยควรใช้ยาอย่างถูกต้องเคร่งครัดภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรเสมอ นอกจากนั้น ควรดื่มน้ำให้มากและพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูได้เร็วขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนของอาการจาม
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นร่วมกับการจามเป็นไปตามสาเหตุของการป่วยด้วย เช่น
  • โรคหวัด หากป่วยรุนแรง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ไซนัสอักเสบ โรคหืดกำเริบ หลอดลมอักเสบ ติดเชื้อในหู และปวดบวม
  • โรคภูมิแพ้ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ผื่นผิวหนัง หากเกิดการแพ้อย่างรุนแรง อาจมีความดันโลหิตต่ำ หายใจหอบเหนื่อย หรือหมดสติ
  • โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หูช้ั้นกลางอักเสบ โพรงจมูกอักเสบ และริดสีดวงจมูก
  • ไข้หวัดใหญ่ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดบวม
การป้องกันอาการจาม
อาการจามมักเกิดจากการได้รับสารก่อภูมิแพ้หรือสารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองเข้าไปในจมูก ดังนั้น การป้องกันอาจทำได้โดยการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และสารที่ทำให้ระคายเคืองเหล่านั้น เช่น หลีกเลี่ยงสถานที่หรือกิจกรรมที่อาจต้องสัมผัสฝุ่นควันหรือเกสรดอกไม้
ส่วนโรคต่าง ๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไอกรน โรคอาร์เอสวี และโรคซาร์ส ที่สามารถแพร่กระจายติดต่อกันได้จากการจาม ผู้ป่วยควรดูแลตนเองไม่ให้แพร่กระจายโรคไปสู่ผู้อื่น ดังนี้
  • เมื่อจามควรใช้กระดาษทิชชู่ปิดปากและจมูกเอาไว้
  • ทิ้งทิชชู่ที่ใช้ปิดปากและจมูกขณะจามหรือไอลงถังขยะให้เรียบร้อย
  • หากในขณะที่จามไม่มีกระดาษทิชชู่ ควรใช้แขนส่วนบนปิดปากและจมูกเอาไว้ โดยหลีกเลี่ยงการใช้มือ เพราะเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อโรคได้มากกว่า
  • ในระหว่างที่จามหรือไอบ่อย ๆ ควรหมั่นล้างมือให้สะอาดทุกครั้งด้วยสบู่และน้ำสะอาด หรืออาจใช้น้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับทำความสะอาดมือ ซึ่งมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์
  • หากกำลังป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจที่สามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้ ผู้ป่วยควรรักษาตัวแยกออกจากผู้อื่น หรือผู้ที่ไม่ได้ป่วยก็ควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่กำลังป่วย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค

วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2561

วิธีทำPortfolio

Portfolio


           การทำ Portfolio ไม่ใช่ว่ามีอะไรเราก็จับยัด ๆ ใส่ไปนะคะ หนาแต่ไม่มีคุณภาพก็สู้แบบบาง ๆ แต่ข้างในเจ๋งไม่ได้ค่ะ การ Portfolio ก็จะมีส่วนประกอบอยู่ 4 ส่วน คือ ส่วนของประวัติส่วนตัว, ส่วนของผลงานที่ผ่านมา, ส่วนของกิจกรรมที่ทำ และ ภาคผนวก ค่ะ แต่ละส่วนจะต้องเขียนอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ


  ส่วนที่ 1 ประวัติส่วนตัว

          ถ้าเทียบแล้วพี่แป้งคิดว่าส่วนแรกเป็นส่วนเรียกน้ำย่อย แต่ไม่ใช่น้ำย่อยธรรมดานะคะ เป็นน้ำย่อยที่มีปริมาณมากพอที่จะย่อยอาหารจากหลักเราได้อย่างสวยงามเลยล่ะค่ะ ส่วนของประวัติส่วนตัวนั้นเป็นส่วนที่อาจารย์สอบสัมภาษณ์จะได้ทราบข้อมูลของเราแบบคร่าว ๆ ก่อนที่จะไปถึงผลการเรียนหรือกิจกรรมที่ทำ เหมือนเป็นการแนะนำตัวเองอีกทางนึงค่ะ โดยส่วนแรกของ Portfolio จะมีส่วนประกอบดังนี้คือ

--> หน้าปก : การออกแบบหน้าปกมีโจทย์ง่าย ๆ สั้น ๆ นิดเดียวเลยคือ "ทำยังไงก็ได้ให้อาจารย์สอบสัมภาษณ์อยากหยิบขึ้นมาอ่าน" .... ไม่ง่ายเลยสินะ T_T เอาาแบบสะดุดตาเลยค่ะ แต่ไม่เอาแบบเอารูปตัวเองใส่ชุดนอน เปิดอก หรือ ใส่กางเกงขาดขึ้นปกนะคะ อันนั้นดึงดูดในทางที่ไม่ดีเลย ฮ่า ๆ หน้าปกที่ดีควรที่จะมีรูปของเรา ชื่อ นามสกุล โรงเรียน สายการเรียน ประกาศตัวเองให้ชัดเจนไปเลยค่ะ นอกจากอาจารย์จะเห็นภาพแล้วจะได้เห็นข้อมูลพื้นฐานเราด้วย

--> ปกใน : ปกในก็คือหน้าปกแผ่นแรกนั่นแหละค่ะ แต่เป็นเวอร์ชั่น Copy แผ่นแรกอาจจะเป็นกระดาษแข็งหรือกระดาษหอมนิด ๆ แต่ปกในเป็นแค่กระดาษ A4 ธรรมดาก็พอค่ะ

--> ประวัติส่วนตัว : เป็นส่วนที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเราค่ะ ในส่วนนี้เป็นส่วนเนื้อหา เราสามารถทำเป็นแบบ 2 ภาษาได้ค่ะ คือ แบบภาษาไทย และ แบบภาษาอังกฤษ เพื่อที่จะแสดงให้อาจารย์ท่านเห็นว่าเรามีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษกับ Portfolio ได้ค่ะ อันนี้ไม่ได้บังคับนะคะ แล้วแต่ว่าจะทำหรือเปล่า แต่น้อง ๆ ที่เข้าในคณะ/สาขา/สถาบันที่เน้นภาษาอังกฤษส่วนนี้จะช่วยโกยคะแนนมากมายเลยค่ะ ทั้งคะแนนความประทับใจจากอาจารย์และคะแนนทักษาะการใช้ภาษา ในส่วนของประวัติส่วนตัวต้องประกอบไปด้วย
        * ชื่อ-นามสกุล ชื่อเล่น วันเดือนปีเกิด อายุ สัญชาติ เชื้อชาติ ศาสนา จำนวนพี่น้อง
        * จบ/กำลังศึกษาอยู่ที่... ระดับชั้น... สายการเรียน...
        * ที่อยู่ทั้งที่อยู่ปัจจุบัน(ที่ติดต่อสะดวก) และ ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ถ้าที่เดียวกัน
           ก็เขียนครั้งเดียวพอค่ะ
        * ชื่อบิดา-มารดา อายุ สถานที่ทำงาน และเบอร์ที่สามารถติดต่อได้ และ ชื่อพี่น้อง(ถ้ามี)
        * ประวัติการศึกษา ตั้งแต่อนุบาลถึงมัธยม แต่ละช่วงชั้นเรียนที่ไหน ได้เกรดเฉลี่ยเท่าไหร่
           แบ่งเป็นช่วง อ.1-3, ป.1-3, ป.4-6, ม.1-3 และ ม.4-6 ค่ะ (ทำเป็นตารางจะเห็นชัดเจน
           กว่านะคะ) มีหลักฐานอ้างอิงคือในแสดงผลการเรียนหรือทรานสคริป ให้ใส่ในส่วนของ
           ภาคผนวกค่ะ
        * ประวัติการศึกษาดูงาน / เข้าค่าย ถ้ามีการเข้าค่ายหรือได้ไปทัศนศึกษาที่ไหน
           ช่วงไหนบ้าง ก็สามารถใส่ลงไปได้ค่ะ ที่สำคัญถ้าใส่สิ่งที่ได้จากกิจกรรมนั้น ๆ ด้วย
           จะเป็นอะไรที่เพอร์เฟคมากเลยค่ะ
        * เกียรติประวัติทางด้านการศึกษา / ด้านพฤติกรรม เช่น การประกวดเรียงความ
           ภาษาไทย เกียรติบัตรรางวัลต่าง ๆ เกี่ยวกับวิชาการ ทำเป็นตารางและแนบเอกสาร
           ไปในภาคผนวกค่ะ แยกออกเป็นด้านต่าง ๆ นะคะ(1 ตารางต่อ 1 ด้าน)
           อาจารย์สอบสัมภาษณ์จะได้ไม่สับสน (***เราจะกล่าวด้านหลังว่า อ้างอิงภาคผนวก
              เอกสารหน้าที่ ....)

        * กิจกรรมภายในโรงเรียน/ภายนอกโรงเรียน/กิจกรรมเพื่อส่วนรวม ทำเป็นตารางหรือ
          ทำเป็นลิสต์แต่ละข้อก็ได้ค่ะ จะไม่มีก็ได้ค่ะ


 
ม.6 อ่าน!! วิธีทำ Portfolio ให้เข้าตากรรมการสอบสัมภาษณ์
แยกออกเป็นส่วน ๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นหน้าเดียว อาจจะส่วนละ 1 หน้ากระดาษก็ได้
แล้วแต่การจัดเรียงแล้วความสวยงามของ Portfolio แต่ละเล่ม
เป็นข้อมูลพื้นฐาน ไม่ต้องกล่าวถึงรายละเอียดกิจกรรม

  ส่วนที่ 2 ผลงาน + คำนิยม

           ส่วนที่ 2 นี้เป็นการดึงเอาผลงานเด่น ๆ ของเรามาใส่ค่ะ ส่วนนี้ถือว่าเป็นส่วนหัวใจของการทำ Portfolio เลยก็ว่าได้ค่ะ เพราะเป็นส่วนที่เราจะเสนอว่าเรามีความสามารถมากเพียงไหน อาจารย์สอบสัมภาษณ์บางท่านอาจจะเปิดผ่านในส่วนของประวัติส่วนตัวเราไปเลยก็ได้ค่ะ อย่าน้อยใจไปนะคะ แต่พี่แป้งรับรองเลยว่าไม่มีอาจารย์ท่านไหนที่มองข้ามในส่วนของผลงานนี้ไปแน่ ๆ ค่ะ
 
ม.6 อ่าน!! วิธีทำ Portfolio ให้เข้าตากรรมการสอบสัมภาษณ์

           ส่วนผลงานนี้ต่างจากส่วนที่ 1 นะคะ ในส่วนที่ 1 เราจะบอกว่าเราทำกิจกรรมอะไรบ้าง มีผลงาน เกียรติบัตรอะไรบ้าง แต่ในส่วนที่ 2 ส่วนผลงานนี้จะดึงเอาแต่ผลงานที่เด่น ๆ ไม่ใช่ทั้งหมด เอาที่เด่นและคิดว่าเกี่ยวข้องกับ คณะ/สาขา ที่เราเข้ามากที่สุด ถ้าคิดว่าไม่เกี่ยวข้องก็เอาที่โดดเด่นมากที่สุด ถ้ามีเยอะก็เอามาแค่ 2-3 ผลงานก็พอค่ะ แต่ต้องเด่นและเจ๋งจริงนะคะ  และเกียรติบัตรที่รับรองเราก็สามารถอ้างอิงได้จากภาคผนวกค่ะ

           ในส่วนผลงานนี้ควรมีทั้งคำบรรยายและภาพประกอบค่ะ ถ้าจะให้ดีควรเป็นภาพที่ปริ้นออกมาเลยค่ะ ไม่ควรใช้เป็นรูปแปะลงกระดาษ เพราะว่าจะทำให้ Portfolio ของเราหนาแลดูไม่สวยงามค่ะ แล้วถ้าเป็นไปได้ควรเป็นภาพสีเพื่อความสวยงาม แต่ถ้าไม่ได้ไม่เป็นไรนะคะ คือถ้าทำได้ก็ทำ ทำไม่ได้ก็ทำให้ดีที่สุดค่ะ อาจารย์ท่านดูความตั้งใจของเราก่อนดูที่ผลงานนะคะ ในส่วนของคำบรรยายเราควรบรรยายว่าผลงานนั้น ๆ เราทำที่ไหน เมื่อไหร่ ทำหน้าที่อะไร และได้อะไรจากการทำผลงานนั้น ๆ ด้วยค่ะ รูปถาพไม่จำเป็นต้องเป็นภาพเดียวนะคะ หลาย ๆ ภาพประกอบได้ แต่ใน 1 ผลงาน ไม่ควรที่จะเกิน 5 รูปค่ะ เพราะมันจะเยอะและรกเกินไป เลือกภาพที่เด็ด ๆ นะคะ

 
ม.6 อ่าน!! วิธีทำ Portfolio ให้เข้าตากรรมการสอบสัมภาษณ์

            ในส่วนของคำนิยม น้อง ๆ อาจจะ งง ว่า คำนิยม คืออะไร?? คำนิยมก็คือคำที่อาจารย์ได้เขียนถึงเราในเรื่องของนิสัย ความประพฤติ กิจกรรม ผลงาน  ในส่วนนี้ไม่ได้บังคับนะคะ แต่ถ้ามีจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ค่ะ คำนิยมจะเป็นแบบพิมพ์หรือเขียนก็ได้ค่ะ สำคัญตรงที่ต้องมีลายเซ็นต์รับรองจากอาจารย์ผู้เขียนเท่านั้นเอง จะมีอาจารย์ที่เขียนคำนิยมมากว่า 1 ท่านก็ได้ค่ะ อาจจะเป็นอาจารย์ประจำชั้น อาจารย์ประจำวิชา ครูใหญ่ ผอ. ได้หมดเลยค่ะ ในส่วนนี้ต้องทำเรื่องขอกันสักหน่อยนะคะ ถ้าใครที่ไม่มีก็ไม่เป็นไรค่ะ ข้ามไปทำในส่วนที่ 3 ได้เลย


  ส่วนที่ 3 กิจกรรม

            ส่วนกิจกรรมก็คล้าย ๆ กับผลงานเลยค่ะ แต่จะเป็นกิจกรรมแทน ในส่วนผลงานอาจจะเป็นการประกวด ได้รับรางวัลจากการแข่งขัน การเล่นกีฬา หรือเกียรติบัตรจากการทำความดี เป็นต้น แต่กิจกรรมจะเน้นไปที่อย่างอื่นที่ไม่ใช่ด้านวิชาการค่ะ เช่น ความสามารถพิเศษต่าง ๆ กิจกรรมกีฬาสี การเป็นประธานรุ่น เป็นประธานเชียร์ งานแสดงตามวันสำคัญต่าง ๆ การเป็นตัวแทนโรงเรียนถือป้ายโรงเรียน เป็นต้นค่ะ ลักษณะการทำก็คล้าย ๆ กับส่วนผลงาน คือมีการบรรยายว่ากิจกรรมนั้นทำที่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่ เรามีส่วนร่วมอะไร และเราได้อะไรจากการทำกิจกรรมนั้น ๆ ค่ะ

  ส่วนที่ 4 ภาคผนวก

            ส่วนนี้เป็นส่วนที่รวมเอกสารทั้งหมดค่ะ เอกสารหลักฐานนั้นเราจะไม่เอาไปใส่ในตัวของเนื้อหนานะคะ เราจะเก็บไว้ในส่วนนี้และใช้วิธีการอ้างอิงค่ะ เอกสารที่อยู่ในส่วนนี้ก็เช่น

           * สำเนาใบแสดงผลการเรียน(ทรานสคริป ปพ.1)
           * สำเนาเกียรติบัตรต่าง ๆ (เรียงตาม พ.ศ.)
           * ภาพถ่ายอื่น ๆ มากกว่าที่ใส่ในส่วนของผลงานและกิจกรรม(ประมวลภาพ ใส่ได้เต็มที่)
    
            ที่สำคัญของส่วนนี้คือต้องเรียงเลขหน้าด้วย เวลาที่เราไปใช้อ้างอิงจะได้เรียกใช้ได้อย่างถูกต้อง ... ก็ครบแล้วสำหรับการทำ Portfolio ทั้ง 4 ส่วนนะคะ รีบทำวันนี้จะได้มีเวลาแก้เผื่อผิดพลาดนะคะ

 
ม.6 อ่าน!! วิธีทำ Portfolio ให้เข้าตากรรมการสอบสัมภาษณ์

            ช่วงนี้ขออิงกระแสหน่อย ผลสอบ มศว ก็ประกาศแล้ว เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า คณะไหน สาขาไหนของสอบตรง มศว ที่ต้องใช้ Portfolio ในวันสอบสัมภาษณ์กันบ้าง

             * คณะพลศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกกำลังกาย
                (หลักฐานแสดงความสามารถทางกีฬา (ถ้ามี))       
             * คณะพลศึกษา สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (หลักฐานแสดงความสามารถหรือ
                ผลงานกิจกรรมด้านสุขภาพ)  
             * คณะพลศึกษา สาขาวิชาผู้นำนันทนาการ (หลักฐานแสดงความสามารถหรือ
                ผลงานด้านต่างๆ)
             * คณะพลศึกษา หลักสูตรการศึกษาศาสตรบัณฑิต (หลักฐานแสดงความสามารถ
                ทางกีฬา หรือ ผลงานกิจกรรมทางสุขภาพ)  
             * คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา (ประวัติและผลงานของผู้สมัคร (ถ้ามี))  
             * คณะมนุษยศาสตร์ (ประวัติและผลงานที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชา
                ที่สมัคร / เอกสารรับรองความสามารถ (ถ้ามี))  
                     - สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา  
                     - สาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก
                     - สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา
                     - สาขาวิชาภาษาเพื่ออาชีพ
                     - สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
                     - สาขาวิชาภาษาตะวันออก
                     - สาขาวิชาภาษาไทย
             * คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (แฟ้มประวัติและ

                ผลงาน (Portfolio))  ** ไม่คืนแฟ้มสะสมผลงาน
                     - สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากร
                     - สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการการท่องเที่ยวและบูรณาการ
             * คณะศิลปกรรมศาสตร์ (แฟ้มประวัติและผลงาน (Portfolio))
                
** ให้เขียนชื่อ นามสกุล โครงการ / หลักสูตร / สาขาวิชา / วิชาเอก ที่สมัครสอบ และ
                       เลขที่นั่งสอบ กำกับเอกสารและข้อมูลทุกรายการด้วย

                     - วิชาเอกศิลปะจินตทัศน์
                     - วิชาเอกเซรามิกส์
                     - วิชาเอกศิลปวัฒนธรรม
                     - วิชาเอกการออกแบบสื่อสาร
                     - วิชาเอกการออกแบบผลิตภัณฑ์
                     - วิชาเอกการออกแบบแฟชั่น
                     - วิชาเอกการออกแบบเครื่องประดับ
                     - วิชาเอกนาฏศิลป์ไทย
                     - วิชาเอกนาฏศิลป์สากล
                     - สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล
             * คณะศิลปกรรมศาสตร์ (แฟ้มประวัติและผลงาน (Portfolio))
                
  **ให้เขียนชื่อ นามสกุล โครงการ / หลักสูตร / สาขาวิชา ที่สมัครสอบ และ เลขที่นั่งสอบ
                         กำกับเอกสารและข้อมูลทุกรายการด้วย

                     - สาขาวิชาดนตรีศึกษา
                     - สาขาวิชาศิลปศึกษา
                     - สาขาวิชานาฏศิลป์
             * คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการประถมศึกษา (ประวัติผลงานของผู้สมัคร (ถ้ามี))
             * วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม แฟ้มประวัติและผลงาน (Portfolio)
               
  ** ไม่คืนแฟ้มสะสมผลงาน
                 ** ให้เขียนชื่อ นามสกุล โครงการ / หลักสูตร / สาขาวิชา / วิชาเอก ที่สมัครสอบ และ 

                           เลขที่นั่งสอบ กำกับเอกสารและข้อมูลทุกรายการด้วย
                     - สาขาวิชานวัตกรรมสื่อสารสังคม
                     - สาขาวิชานวัตกรรมการสื่อสาร
                     - สาขาวิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล


 
   FAQ รวมคำถามสงสัยในการทำ Portfolio   

Question : ต้องเป็นเอกสารตัวจริงในการทำ Portfolio เท่านั้นใช่ไหม?
Answer : ไม่จำเป็นเลยค่ะ จะเป็นสำเนาแบบ ขาว-ดำ หรือ แบบสี ก็ได้ ความสำคัญอยู่ตรงที่ต้องมีการเซ็นสำเนาถูกต้อง อาจจะไม่ต้องมีเส้นขีดคาดตรงกลางก็ได้ค่ะ แต่ต้องมีเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง และบอกด้วยว่าสำเนานี้ใช้เฉพาะอะไร เป้นมุมเล็ก ๆ ด้านล่างของกระดาษก็ได้ค่ะ แต่ถ้าเอกสารอะไรที่สำคัญอย่างเช่น สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ควรมีเส้นขีดคาดตรงกลางนะคะ เอกสารของเราจะได้ไม่ถูกนำไปใช้ต่อค่ะ

Question : สามารถโหลดรูปแบบหน้าปกที่มีตามอินเตอร์เน็ตมาใช้ได้หรือเปล่า?
Answer : สามารถทำได้ค่ะ แต่บอกเลยว่า "ไม่ควร" ค่ะ เพราะว่าการที่เราโหลดมาเป็นแบบที่คนอื่นสร้างขึ้น คนอื่นก็อาจจะโหลดมาเหมือนกัน แล้วก็เกิดเหตุกาณณ์ที่ว่า หน้าปกซ้ำ ได้ค่ะ เพราะฉะนั้นสร้างขึ้นมาเองเลยดีกว่า ไม่เหมือนใครด้วย แล้วหน้าปกก็เป็นจุดแรกที่อาจารย์สอบสัมภาษณ์ท่านเห็น อาจจะสร้างความประทับใจแรกได้ค่ะ รูปแบบหน้าปกตามอินเตอร์เน็ต เราสามารถดูได้เพื่อมาดัดแปลงทำหน้าปกของเราค่ะ แต่ไม่ควรโหลดมาแล้วเปลี่ยนชื่อเลย อาจารย์ท่านจะมองเราว่าไม่มีความคิดสร้างสรรค์นะคะ (โดนกดคะแนนด้วย)

Question : ถ้าไม่มีผลงานโดดเด่นจะสามารถใส่อะไรลงไปได้บ้าง?
Answer : เริ่มแรกเลย พยายามหารูปกิจกรรมที่มีเราอยู่ในนั้น 1 - 2 รูปก็ยังดีค่ะ แล้วอธิบายว่ากิจกรรมนั้น ๆ ที่เราทำคืออะไร ไม่จำเป็นต้องเป็นในโรงเรียนนะคะ เป็นของนอกรั้วโรงเรียนก็ได้ เช่น มีรวมกลุ่มปั่นจักรยานทางไกล เล่นกีฬาต่าง ๆ หรือ เป็นอาสาสมัครดูแลเด็กวันเสาร์-อาทิตย์ อะไรประมาณนี้ แต่ถ้าไม่มีจริง ๆ ก็พยายามหาคำนิยมจากอาจารย์หลาย ๆ ท่านมาใส่ค่ะ คำกล่าวจากอาจารย์จะการันตีเราได้ส่วนนึงเลย กิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ใส่ได้นะคะ ไม่ต้องเป็นการประกวดใหญ่โตอะไรก็ได้ ^_^

Question : โครงการรับตรง 1 โครงการใช้ Portfolio 1 เล่มใช่หรือไม่? (ถ้าสมัคร 10 โครงการก็ต้องทำ 10 เล่มเลยหรอ?)
Answer : แล้วแต่ทางโครงการรับตรงนั้นกำหนดค่ะ บางสถาบันอย่างเช่น มศว จะระบุมาเลยว่าขอสงวนสิทธิ์ในการคืน Portfolio เพราะฉะนั้นก็ทำสำเนาอีกฉบับได้เลยค่ะ โดยส่วนใหญ่แล้วทางอาจารย์สอบสัมภาษณ์ท่านจะดูแล้วถาม ถามเสร็จก็คืนนะคะ เว้นแต่ว่าผลงานเราจะโดดเด่นจริง ๆ อาจารย์จะขอดึงใบประกาศแผ่นนั้นเอาไว้ค่ะ แต่ไม่ค่อยเก็บทั้งเล่มนะคะ ทางทีดีอย่านำเอกสารผลงานตัวจริงใส่ลงไปจะดีกว่าค่ะ ถ้าต้องการความสวยงามก็ถ่ายเอกสารเป็นแบบสี แล้วก็เซ็นต์สำเนาถูกต้องเล็ก ๆ ไว้ที่มุมกระดาษด้านล่าง จะได้ไม่ต้องบังเอกสารค่ะ

Question : ทำ Portfolio สามารถแต่งเรื่องราวของเราได้หรือเปล่า?
Answer : เราสามารถเพิ่มอรรถรสในการเขียนได้ค่ะ แต่ไม่ควรแต่งเกินความเป็นจริง อาทิเช่น บ้านเราฐานะปานกลาง แต่เรากลับเขียนว่าฐานะบ้านเรารวยมาก รวยเป็นสิบล้านยี่สิบล้าน อันนี้ก็เวอร์ไปค่ะ แต่เราสามารถเขียนให้ยาวขึ้นได้ เช่น ที่บ้านทำธุรกิจขายขนมปัง ถ้าใครเขียนเรียงความชีวิตตัวเองก็อาจจะใส่ไปได้ว่า "ทุก ๆ เช้าข้าพเจ้า/ดิฉัน/ผม ตื่นมาช่วยคุณพ่อคุณแม่นวดแป้งขนมปัง บางวันมีการไปโรงเรียนสายเพราะมัวแต่รับประทานขนมปังที่เพิ่งอบเสร็จใหม่ ๆ กลิ่นหอมมาก พร้อมทั้งมีใส่อยู่ด้านในให้เลือกหลากหลาย...." แต่ถ้าไม่เขียนเรียงความก็ไม่ต้องนะคะ 555+
 
ม.6 อ่าน!! วิธีทำ Portfolio ให้เข้าตากรรมการสอบสัมภาษณ์

            จัดเต็มกันไปสำหรับการทำแฟ้มสะสมผลงานหรือ Portfolio 1 เล่มนะคะ ตอนนี้ใครที่ยังไม่รู้จะเริ่มทำยังไงก็รู้แล้วเนาะ เริ่มทำเลยดีกว่า ถ้าไม่รู้เริ่มตรงไหนก็เริ่มจากการหาผลงานของเราก่อนก็ได้ค่ะ เวลาเอามาเขียนทำเป็นเล่ม Portfolio เราจะได้รู้ว่าต้องเขียนอะไรไปต่อจากประวัติของเรา มีอีกเคล็ดลับจะบอกค่ะ การที่เราลอก Portfolio ของเพื่อนมา ถึงแม้ว่าอาจารย์ที่สอบสัมภาษณเราจะไม่รู้จักเรา หรือ เพื่อนเรา มาก่อนก็ตาม แต่บอกว่าเลยอาจารย์ท่านรู้นะคะว่าใครทำเองหรือใครลอกมา อาจารย์แต่ละท่านผ่าน Portfolio มาเยอะมาก เพราะฉะนั้นตั้งใจทำเองนะคะ